Notice
  • JW_SIG_PRG
Tuesday, 04 February 2014 17:54

กิจกรรมอนุรักษ์เต่าทะเล

กลุ่มกิจกรรมอนุรักษ์เต่าทะเล

พฤษภาคม – ธันวาคม ๒๕๕๗

แนวคิด

ประเทศไทยมีเต่าทะเลชนิดต่างๆ แพร่กระจายอยู่ทั่วไปตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเกาะต่างๆ ของอ่าวไทย รวมทั้งทะเลอันดามัน แต่ในปัจจุบันนี้ปริมาณเต่าทะเลองประเทศไทยลดจำนวนลงไปมากมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคต เนื่องจากสาเหตุสำคัญหลายประการ คือ แหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลถูกทำลาย หรือถูกรบกวนโดยกิจกรรมองมนุษย์ รวมถึงสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม, การใช้ประโยชน์จากเต่าทะเลทั้งการบริโภคเนื้อเต่า ไข่เต่า และการทำผลิตภัณฑ์ของซากเต่าชนิดต่างๆ การทำประมงและมีเต่าทะเลติดอวนหรือเครื่องมือประมงชนิดต่าง ตาย โดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล จึงเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกัน แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อช่วยมิให้เต่าทะเลของไทยสูญพันธุ์

{gallery}campaign/1/1-4{/gallery}

โครงการอนุรักษ์พันธุ์ทะเล ของมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม ได้เกิดขึ้นจากแนวคิด " Natural History Museum" จึงเป็นที่มาของ "Thai Island and Sea Natural History Museum" หรือ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ซึ่งกองทัพเรือได้ก่อตั้งขึ้นสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยประมวลพระราชดำริที่พระราชทานไว้แก่กองทัพเรือหลายครั้งหลายครา ด้วยกันมาเป็นกรอบการดำเนินงาน ตั้งอยู่ ณ เขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายงานการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลจากอ่าวไทยฝั่งตะวันตกสู่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทั้งนี้พบว่าเกาะทะลุเป็นแหล่งวางไข่ของเต่ากระที่ใหญ่ที่สุดของอ่าวไทยฝั่งตะวันตก แต่ศักยภาพของการทำงานวิจัยเรื่องเต่าทะเล(เต่ากระ) มีมากเนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากศูนย์ช่วยเหลือเต่าทะเล ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร และชาวบ้านที่อยู่บนเกาะทะลุให้ความร่วมมือในการช่วยกันดูแลแหล่งอาศัย วางไข่และช่วยเพาะฟักขยายพันธู์เตาะกระเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือกับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุธการ ในการทำความเข้าใจกับคนพื้นที่และฝึกหัด แนะนำวิธีการเพาะฟักขยายพันธุ์เต่ากระที่ถูกต้อง จนประสบความสำเร็จอย่างมากจนถึงปัจจุบัน สามารถเก็บข้อมูลการขึ้นมาวางไข่ อัตราการฟัก และอัตรารอดจนถึงระยะปล่อยสู่ทะเล ได้เกือบครบถ้วน และยังพยายามยังนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ประกอบงานวิจัยในหัวข้อต่างๆ ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ งานวิจัยของการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลในอ่าวไทยฝั่งตะวันตกนี้จะเสร็จสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องทำงานนี้อย่างต่อเนื่อง และต้องการความมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะเยาวชนผู้เป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต ทางมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยามโดยนายปรีดา เจริญพักตร์จึงมีความตั้งใจที่จะใช้เกาะทะลุในพื้นที่ส่วนที่ตนเองมีกรรมสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินถูกต้องตามกฎหมายเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปและเยาวชนที่สนใจ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์เต่าทะเลไม่ให้สูญพันธุ์เป็นตัวอย่างที่ดี และแนวทางในการอนุรักษ์เต่าทะเลที่ถูกต้องต่อไป

 

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมอุปกรณ์ผู้รับผิดชอบ
ประเมินทัศนคติและความเข้าใจเบื้องต้น  
1. ดู VDO เกี่ยวกับเต่าทะเลแล้วแบ่งกลุ่มให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเต่าทะเล
  • โปรเจคเตอร์หรือดูจากโน๊ตบุ๊ค
 
เรียนรู้ผ่านกิจกรรม  
2. ประเภทของเต่าทะเล ชนิดพันธุ์และความแตกต่างของชนิดพันธุ์
3. การดำรงชีวิตการกินอาหารและแหล่งอาหารของเต่าทะเล
4. การแพร่กระจายการสืบพันธุ์และการวางไข่ของเต่าทะเล
  • ฟริปชาร์ตแสดงภาพ
  • powerpoint
 
การศึกษาและอนุรักษ์เต่าทะเล  
5. ที่มาของโครงการและความสำคัญของการศึกษาวิจัยเต่าทะเลในพื้นที่เกาะทะลุและใกล้เคียง
6. ปูพื้นฐานการเป็นนักจัยที่ดี
7. แม้จะไม่เป็นนักวิจัยก็สามารถช่วยชีวิตเต่าทะเลได้
   
ทดลองปฏิบัติ  
8.กิจกรรมการทำบ่อดักไข่เต่า สำรวจพื้นที่ ช่วยปรับพื้นที่ให้เหมาะสมแก่การวางไข่ของแม่เต่า ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยนชาญ
9.อาสาสมัครช่วยทำความสะอาดบ่ออนุบาลเต่า และให้อาหาร แบ่งกลุ่มช่วยกันบำเพ็จประโยชน์โดยการทำความสะอาดบ่ออนุบาลเต่า
10.กิจกรรมการทำทะเบียนลูกเต่า ถ่ายภาพและบันทึกตำหนิ ฝังไมโครชิพที่ใช้ในการติดตามผลเมื่อเต่ากลับขึ้นมาบนบกอีกครั้ง
  • จอบ เสียม พลั่ว ถุงมือ
  • แปลงขัดพื้น ถุงมือยาง สก๊อช์ไบรต์
  • ไมโครชิพ (Microchip) แบบฟอร์มการเก็บข้อมูล
 
สรุปการทำงาน  
11.บันทึก ประเมินและสรุปข้อมูลแต่ละกิจกรรม
12.นำเสนอและแลกเปลี่ยนในกลุ่มใหญ่
13. ระดมสมอง วิเคราะห์หาแนวทางการแก้ปัญหา
  • กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี
  • แผนภูมิสรุป
  • กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี
 

ทีมงาน

  • คุณธงชัย  ชูคันหอม
  • คุณอภิชาติ  อินทองคำ
  • บุศเลิศ
 

หัวข้อแนวทางเพื่อต่อยอดในการศึกษาโดยโครงงาน

1. กิจกรรมลงทะเบียนเต่าทะเล

ในการอนุรักษ์เต่าทะเลนั้น ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิยาของเต่าแต่ละชนิดมี ความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ข้อมูลการแพร่กระจาย ช่วงเวลาของปีที่วางไข่ อายที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์ (Maturity) ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถได้มาโดยการทำเครื่องหมายที่ตัวเต่าทะเลก่อนปล่อยเพื่อเก็บข้อมูลเมื่อเต่ากลับมาวางไข่หรือได้รับบาดเจ็บเกยตื้น การทำเครื่องหมายในเต่าทะเลสามารถทำ ได้หลายวิธีและมักจะใช้หลายวิธีร่วมกัน ในเต่า 1 ตัว เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ข้อมูลให้ มากที่สุด

ลูกเต่าทะเลที่จะปล่อยสู่ธรรมชาตินั้นต้องได้รับการตรวจประเมินสุขภาพว่าแข็งแรง ปราศจากโรคและสามารถที่จะหากินได้เองก่อนที่จะนำไปปล่อยและเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีใครทราบถึงวงจรชีวิตของเต่าทะเลอย่างสมบูรณ์ทำให้ในการปล่อยลูกเต่าทะเลนั้นยังไม่สามารถกำหนดวิธีการปล่อยที่ดีที่สุดได้เช่น อายที่สมควรปล่อย สถานที่ปล่อย ฯลฯ ยังคงต้องรอการศึกษาวิจัยในอนาคต แต่หลักการคร่าว ๆ ที่ควรยึดปฏิบัติก็คือ ควรทำการปล่อยจากหาดที่เป็นแหล่งกำเนิด หรืออย่างน้อยควรปล่อยในบริเวณที่มีแหล่งหากินสำหรับเต่าทะเลชนิดนั้น ๆ หรือมีรายงานพบเต่าทะเลชนิดนั้นหากินอยู่และเป็นบริเวณที่ไม่มีการทำประมงของมนุษย์มากเกินไป เพราะลูกเต่าที่ปล่อยเมื่อมีอายุเลย 10 วันแรกของชีวิต ซึ่งเป็นการพ้นช่วงที่มีการว่ายออกทะเลลึกไปแล้ว มักจะหากินอยู่บริเวณที่ปล่อยอย่างสะเปะสะปะจึงควรปล่อยลูกเต่าในบริเวณที่ปลอดภัยและมีอาหาร หรืออาจอยู่ใกล้เคียงหาดที่เป็นแหล่งกำเนิดของลูกเต่าชุดนั้น ๆ และควรทำเครื่องหมายที่เหมาะสมกับขนาดของเต่าและเก็บข้อมูลการปล่อยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามหลักความเป็นจริงแล้ว เต่าทะเลซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์การจัดการต่าง ๆในการอนุรักษ์จำเป็นจะต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ และที่สำคัญ คือต้องมีการติดตามผลเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนการจัดการให้เกิดผลดีที่สุด การปล่อยลูกเต่าทะเล ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะได้ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับประชาชนที่มาเข้าร่วมถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน

Passive integrated transponder (PIT tags) นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไมโครชิพ (Microchip) เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาดเล็กที่เคลือบด้วยวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับ ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจะส่งสัญญาณหมายเลขเฉพาะตัวออกมาเมื่อได้รับสัญญาณวิทยุจากเครื่องอ่านหมายเลขในระยะใกล้ตัว ไมโครชิพมีขนาดยาว 12 มิลลิเมตร เส้น ผ่านศูนย์กลาง 2.1 มิลลิเมตร ในเต่าทะเลจะฝังไมโครชิพที่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) บริเวณไหล่ ซึ่งจะฝังไว้ที่ไหล่ข้างซ้ายแต่บางหน่วยงานอาจฝังไว้ทั้ง 2 ข้างเพื่อป้องกันการสูญหายและเพิ่มโอกาสในการได้ข้อมูล ไมโครชิพมีข้อดีคือมีอายุการใช้งานยาวนานมาก (ข้อมูลจากการใช้ในสัตว์บกใช้ได้นานถึง 75 ปี) และสามารถทำในเต่าขนาดเล็กแต่มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแถบโลหะ หากไม่มีเครื่องอ่านก็จะไม่สามารถตรวจหาหมายเลขได้ซึ่งราคาของเครื่องอ่านหมายเลขค่อนข้างแพงและบางครั้งไมโครชิพที่ฝังไว้ใต้ผิวหนังอาจเคลื่อนย้ายไปจากจุดเดิม ทำให้ลำบากในการตรวจหา การฝังไมโครชิพควรทำในเต่าที่มีขนาดไม่เล็กเกินไป โดยควรมีอายมากกว่า 6 เดือน หรือความยาวกระดองหลังมากกว่า 10 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักมากกว่า 1กิโลกรัม ขึ้นไป สาเหตุที่ไม่ควรทำในเต่าขนาดเล็กเพราะบริเวณไหล่มีเส้นเลือดใหญ่อยู่ในเต่าขนาดเล็กจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะพลาดไปโดนเส้นเลือดที่ไหล่ในขณะทำการฝังไมโครชิพ

อย่างไรก็ตามการลงทะเบียนเต่าทะเล คงไม่สามารถได้รับข้อมูลทุกอย่างอย่างครบถ้วน เนื่องจากอาจเกิดการสูญหายจากเต่าทะเลที่ไม่สามารถตรวจเช็คได้ แต่จะเป็นเครื่องมือตรวจสอบการเจริญเติบโต การอยู่รอดของเต่าทะเล ในกรณีที่เต่าทะเลตัวนั้นกลับขึ้นมาบนบกอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

  1. คัดเลือกเต่าทะเลที่สุขภาพดี สภาพร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ มีขนาดความกว้างกระดองความยาวกระดองและน้ำหนักที่เหมาะสม
  2. วัดขนาด ชั่งน้ำหนัก และบันทึกข้อมูลของสภาพร่างกาย
  3. ตรวจเช็คหมายเลขไมโครชิพให้ถูกต้อง พร้อมจดบันทึก
  4. ติดไมโครชิพเต่าทะเลที่จะปล่อยสู่ธรรมชาติ
  5. ตรวจเช็คหมายเลขไมโครชิพอีกครั้ง
  6. ปล่อยเต่าทะเลสู่ธรรมชาติ
 

2. กิจกรรมศึกษาพฤติกรรมของลูกเต่าทะเล

การอนุบาลลูกเต่าทะเลคือการนำเต่าทะเลในวัยเด็กมาเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่มนุษย์ทำขึ้น ในการเลี้ยงจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ทั้งในแง่ชีววิทยาของเต่าทะเลและหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องและถึงแม้ว่ามนุษย์จะสามารถจำลองสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงได้เหมือนกับสภาพแวดล้อมจริงๆในธรรมชาติได้ก็ตาม แต่ความรู้พื้นฐานทางชีววิทยาของเต่าทะเลในปัจจุบันก็ยังคงมีน้อยและต้องมีการศึกษาค้นคว้าอีกต่อไป อุปสรรคสำคัญที่พบในการอนุบาลลูกเต่าทะเลได้แก่การจัดการด้านอาหารและโภชนาการและปัญหาสุขภาพรวมทั้งโรคต่าง ๆ และปัจจัยอื่น ๆ เช่น คุณภาพน้ำ ความหนาแน่นในการเลี้ยง เพราะเต่าทะเลจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวหากเลี้ยงในปริมาณที่หนาแน่นเกินไป รวมไปถึงพฤติกรรมการดำน้ำลึกเพื่อกินอาหาร ในการอนุบาลลูกเต่าทะเลนั้น ข้อมูลทุกอย่างมีความสำคัญมาก ทั้งในการนำไปใช้ในการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการสืบหาสาเหตุเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในโรงเพาะเลี้ยง ทั่วโลกพยายามศึกษาวิจัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเต่าทะเล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการวางมาตรการอนุรักษ์และป้องกันการลดจำนวนลง

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

  1. คัดเลือกเต่าทะเลที่มีอายุเท่ากัน ขนาดเท่ากัน
  2. อนุบาลที่ระดับความลึกน้ำต่างกัน
  3. ให้อาหารในปริมาณเท่ากันตามหลักวิชาการ
  4. บันทึกพฤติกรรมการดำน้ำในการกินอาหารของเต่าทะเล
  5. ตรวจสอบน้ำหนักของอาหารที่เหลือ
  6. คำนวณน้ำหนักอาหารที่เต่าทะเลกิน
  7. ทราบความลึกของน้ำที่เหมาะสมต่อความสามารถในการดำน้ำเพื่อกินอาหารของเต่าทะเล
 

หัวข้อที่ 3 นำเสนอสาระในหัวข้อวิถีชีวิตประมงท้องถิ่นในฐานะ "ต้นทุนชีวิต"

ซึ่งได้สื่อถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตของชุมชนประมง กับทรัพยากรทางทะเล ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวผ่านชีวิต เฒ่าทะเลแห่งชุมชน ซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านในการเดินเรือ ด้วยการสังเกตน้ำขึ้นน้ำลง สภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะลม ตำแหน่งดวงดาวบนฟ้า ร่องน้ำ พฤติกรรมของสัตว์น้ำในทะเล เช่น กุ้ง ปลา การใช้เครื่องมือประมง รวมทั้งความเคารพธรรมชาติ โดยจะทำพิธีบูชาแม่ย่านางเรือก่อนออกเดินทะเล เพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ รวมทั้งประวัติศาสตร์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนชาวประมง