กลุ่ม พัฒนาการประมงท้องถิ่น (โครงการปลูกต้นกล้าอาสาสมัคร รักษ์ทะเลสยาม)
พฤษภาคม – ธันวาคม ๒๕๕๗
แนวคิด
โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของกรมประมง เป็นโครงการแรกที่ใช้วิธีการจัดการประมง โดยการประกาศเขตห้ามใช้เครื่องมือประมงที่มีอานุภาพสูงในการจับสัตว์น้ำและทำลายพันธุ์สัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ อันได้แก่ อวนลาก อวนล้อมปั่นไฟ อวนรุน และคราดหอย ตลอดจนการห้ามทำการประมงปลากะตักโดยอวนล้อมกลางวันในพื้นที่ชายฝั่ง 3 กิโลเมตรของโครงการ เขตประกาศโครงการมีพื้นที่ครอบคลุมอ่าวบางสะพานทั้งหมดประมาณ 240 ตารางกิโลเมตรภายใต้อาณาเขตของสองอำเภอ อันได้แก่ อำเภอบางสะพาน และบางสะพานน้อย ซึ่งมีประชากรประมงจำนวนมากกว่า 400 ครัวเรือน ภายใต้แกนนำกลุ่มประมง 9 กลุ่มด้วยกัน โครงการธนาคารปูม้า ได้เกิดขึ้นมาเพราะ ปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus) เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนอกจากเป็นที่นิยมทั่วไป ของคนในประเทศ ยังเป็นวัตถุดิบที่ต้องการของโรงงานผลิตอาหารกระป๋องเพื่อส่งออก ในช่วงเวลาที่ผ่านมาปูม้าถูกจับจากทะเลขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายจนเกินขนาด รวมทั้งปูวัยรุ่น และแม่ปูไข่นอกกระดอง ซึ่งยังสามารถแพร่พันธุ์ได้อีกมาก ส่งผลให้ปูม้าในท้องทะเลไทยลดลง แต่ความต้องการของตลาดกลับเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาปูม้าแพงขึ้นเรื่อยมาจากกิโลกรัมละ 35 บาท เมื่อปี 2532 (กองนโยบายและแผนงานประมง, 2532) เป็นกิโลกรัมละ150 – 200 บาท ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดนี้จำเป็นต้องเข้ามา มีบทบาทในการเพิ่มผลผลิตเพื่อทดแทนผลผลิตจากทะเลที่ลดน้อยลง การศึกษาชีววิทยาของปูม้าเพื่อนำไปสู่ การเพาะเลี้ยง ได้ดำเนินการมานานแล้ว (เขียน, 2520: บุญศรีและเจต, 2527: สุเมธ,2527) แต่การเพาะเลี้ยงปูม้าในช่วงต้นที่ผ่านมาประสบปัญหาการตายเนื่องจากการกินกันเองทำให้อัตราการรอดต่ำ (สุเมธ, 2527: กรุณาและ สุชาติ, 2532) จึงต้องเพิ่มจำนวนลูกพันธุ์คืนสู่ธรรมชาติ
{gallery}campaign/1/1-1{/gallery}วัตถุประสงค์ของธนาคารปูม้า
๑. อนุรักษ์ปูม้าโดยการฟักไข่จากแม่ปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง
๒. ส่งเสริมการทำการประมงในเชิงอนุรักษ์
๓. สร้างจิตสำนึกในการทำการประมงปูม้าอย่างมี จรรยาบรรณ และรับผิดชอบ
๔. ใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ยั่งยืน ถาวรตลอดไป
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรม | อุปกรณ์ | ผู้รับผิดชอบ |
---|---|---|
ประเมินทัศนคติและความเข้าใจเบื้องต้น | ||
|
|
|
เรียนรู้การทำธนาคารปูม้า | ||
|
|
|
การทำเครื่องมือจับปูม้า | ||
|
เนื้ออวนขนาดตา 75 -120 มม ลึก 9-30 ตา ทุ่นพยุงอวนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.8 ซม.หนา 2.2ซม. ทุ่นโฟมนิ่ม ขนาด6x1.5x1 ซม. |
|
การดำเนินงานธนาคารปูม้า | ||
|
ภาชนะที่ทำธนาคารปูม้า(ถ้งพลาสติกขนาดความจุ ๒๐- ๕๐ ลิตรจำนวน ๒๐ ถัง | |
การสังเกตและเรียนรู้ | ||
|
แม่ปูม้า, กล้องจุลทรรศ | |
การเป็นผู้จัดการธนาคารปูม้า | ||
|
กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี | |
สรุปกิจกรรมธนาคารปูม้า | กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี | |
การวางแผนสร้างความมั่นคงด้านอาหาร | กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี | |
ต่อยอดความคิด สู่ปฏิบัติการ “โครงงาน” | กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี |
ทีมงาน
- นายกฤษณา กลิ่นน้อย
- นายสุพัฒน์ โสนารถ
- นายสุนทร รสดี
- นายสังเวียน สมศรี
กิจกรรมที่น่าต่อยอดจากความคิดโครงการพัฒนาการประมงท้องถิ่น
หัวข้อที่1 การทำซั้งกอเพื่ออนุบาลลูกปูม้าหลังออกจากธนาคารปูม้า
วัตถุประสงค์
- ร่วมกันจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ซั้งกอ) เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยและวางไข่ ตลอดจนเลี้ยงตัววัยอ่อนของสัตว์น้ำ และเพื่อให้สังคมได้รับทราบในการจัดการประมงของชุมชนประมง
- เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้บุคคลทั่วไปทราบถึงกิจกรรมของชาวประมงในเขตอ่าวบางสะพานน้อย
สถานที่ดำเนินการ
อ่าวบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พื้นที่ทั้งหมด 150,000 ไร่ รายละเอียดปรากฏตามแผนที่แสดงที่ตั้ง และพื้นที่ดำเนินการ)
เป้าหมาย
- จัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ซั้งกอ) จำนวน 500 ซั้ง
- จัดทำพิธีทางศาสนา เพื่อทำบุญประจำปีและทำบุญประจำอ่าว โดยให้ถือวันนี้เป็นวันทำบุญประจำปีและจัดทำซั้งกอในปีต่อไป
- เผยแพร่กิจกรรมให้ชาวประมงและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ทางสื่อต่าง ๆ เช่น สถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ
- ลดปัญหากรณีพิพาทระหว่างชาวประมงพานิชย์กับชาวประมงพื้นบ้าน
- เพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดการทรัพยากรประมง อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
- เพื่อเตรียมชาวประมงในเขตพื้นที่โครงการฯ ให้มีความพร้อมในการรับมอบพื้นที่ทำการประมง เพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนประมง (สิทธิประมงหน้าบ้าน)
ผลที่ได้รับจากการจัดทำโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ซั้งกอ)
- แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ซั้งกอ) เป็นที่อาศัยและเลี้ยงตัววัยอ่อนของสัตว์น้ำนานาชนิด อันจะเป็นการเพิ่มผลผลิตของสัตว์น้ำตามธรรมชาติได้มากยิ่งขึ้น
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมการจัดการประมงโดยชุมชน ให้ชาวประมงและประชาชนทั่วไป ทราบทางสื่อทุกประเภท
- สร้างจิตสำนึกในการจัดทำการประมงอย่างมีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบให้กับชาวประมงในเขตพื้นที่โครงการ และชาวประมงพื้นที่จังหวัดชายทะเลทั่วประเทศ
- สร้างแนวร่วมและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง และการจัดการทรัพยากรประมง
- จุดประเด็นการจัดการทรัพยากรประมงแผนใหม่ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะส่งเสริมให้มีการ จัดการทรัพยากรประมง โดยชาวประมงมีส่วนร่วม
- สร้างความสมานสามัคคีให้กับชาวประมงในเขตพื้นที่โครงการ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 400 ลำ
- สร้างรายได้และการมีงานทำ ให้กับชาวประมงเพิ่มขึ้น 400 ครัวเรือน (ลำ) ชาวประมงได้รับประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 2,000 คน
- สร้างอาชีพเสริมแก่ชาวประมง เช่น การท่องเที่ยว กิจกรรมตกปลา (บริเวณซั้งกอ)
- ลดปัญหากรณีพิพาทระหว่างชาวประมงพานิชกับชาวประมงพื้นบ้าน
- เพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดการทรัพยากรประมง อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
- เพื่อเตรียมชาวประมงในเขตพื้นที่โครงการฯ ให้มีความพร้อมในการรับมอบพื้นที่ทำการประมง เพื่อเข้า สู่กระบวนการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนประมง (สิทธิประมงหน้าบ้าน)
หัวข้อที่ 2 การทำโครงงานความมั่นคงด้านอาหารทะเล
วัตถุประสงค์
- มีสัตว์น้ำพอเพียงต่อการบริโภค
- เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนประมง
- สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม
- ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์
- สร้างความมั่นคงด้านอาหารประมง
เป้าหมาย
- ทรัพยากรสัตว์น้ำทะเล/ชายฝั่ง ๑ – ๒ แสนตัน /ปี
- ชุมชนประมงดำเนินการโดยมีส่วนร่วมกับภาครัฐฯ
- ประชากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น
- ประชากรในพื้นที่มีสัตว์น้ำทะเลบริโภคเฉลี่ย ๒๐ กิโลกรัม/คน/ปี
การดำเนินงาน
- ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
- ขยายพื้นที่อนุรักษ์
- สร้างปะการังเทียม
- การบริหารจัดการโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
หัวข้อที่ 3 นำเสนอสาระในหัวข้อวิถีชีวิตประมงท้องถิ่นในฐานะ "ต้นทุนชีวิต"
ซึ่งได้สื่อถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตของชุมชนประมง กับทรัพยากรทางทะเล ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวผ่านชีวิต เฒ่าทะเลแห่งชุมชน ซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านในการเดินเรือ ด้วยการสังเกตน้ำขึ้นน้ำลง สภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะลม ตำแหน่งดวงดาวบนฟ้า ร่องน้ำ พฤติกรรมของสัตว์น้ำในทะเล เช่น กุ้ง ปลา การใช้เครื่องมือประมง รวมทั้งความเคารพธรรมชาติ โดยจะทำพิธีบูชาแม่ย่านางเรือก่อนออกเดินทะเล เพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ รวมทั้งประวัติศาสตร์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนชาวประมง