Saturday, 07 December 2013 17:34

เกี่ยวกับเรา

วิสัยทัศน์

คุณปรีดา เจริญพักตร์ ประธานกรรมการมลูนิธิ ฯ และเจ้าของพื้นที่ผู้จุดประกายโครงการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพานและการอนุรักษ์ปะการังบริเวณเกาะทะลุรวมถึง คณะกรรมการมลูนิธิ ฯ ทุกคน ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรักยากรธรรมชาติทางทะเลของอ่าวไทย จึงมีความตั้งใจที่จะพัฒนาให้เกาะทะลุเป็นสถานีวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่มีหน่วยงานมหาวิทยาลัยร่วมสนองพระราชดำริไปทำการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรในอ่าวบางสะพานและโครงการประมงชุมชนเพื่อรักษาและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวไทยต่อไป

 

ความเป็นมา ของ มลูนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม
(Siam Marine Rehabilitation Foundation)

about us1เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ณ เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทอดพระเนตรพื้นที่ โครงการฯ โดยมีคณะสำรวจจากกองทัพเรือภาคที่ 1 ได้ทำการสำรวจพื้นที่ทางทะเลและสภาพปะการังใต้ทะเลของเกาะทะลุพบว่ายังมีแนวปะการังที่สมบรูณ์ และสวยงาม อยู่มากเมื่อเทียบกับแหล่ง อื่นๆ ในทะเลอ่าวไทยทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้พัฒนาเกาะทะลุและพื้นที่โดยรอบภายใต้แนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่และดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติอันสมบรูณ์ให้อยู่คู่ท้องถิ่นไทยตลอดไป

เกาะทะลุยังอยู่ใจกลางพื้นที่โครงการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน ซึ่งเป็นต้น แบบโครงการปิดอ่าวฤดูวางไข่มากว่า 30 ปีที่ ยังมีโครงการฟื้นฟูแนวปะการังมากกว่า 12 ปี จนกระทั่ง มีสัตว์ทะเลหายาก เช่น เต่ากระ (Hawksbill sea turtle) ขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดทางตอนใต้ของ เกาะทะลุมาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี และยังมีปริมาณไข่เต่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางเกาะทะลุจึงได้ จัดตั้งโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลหายากเพื่อคืนสู่ธรรมชาติสำเร็จเป็นรูปธรรมในปีพ.ศ.2554 โดย ความช่วยเหลือจากศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการให้คำแนะนำทั้งในกระบวนการเพาะฟักและวิธีการเลี้ยงดูแก่เจ้าหน้าที่ของเกาะทะลุจนเกิดความรู้ความเข้าใจ จนเกิดผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ คุณปรีดา เจริญพักตร์ เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะสานต่อและผลักดันโครงการดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามแนวพระราชดำหริในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน จึงมีความคิดที่จะจัดตั้งเป็นมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยามขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมาย แนวคิดในการดำเนินงานบุคคลากรและงบประมาณให้เป็นไปอย่างถูกต้องชัดเจน ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือการสร้างความร่วมมือกับประชาชนคนใน พื้นที่รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้เกิดความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สร้างความยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่เกาะทะลุ และอ่าวบางสะพานให้เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ฟื้นฟู ดูแล เพื่อสร้างจิตสํานึกให้กับชุมชนในการอยู่ร่วมและแบ่งปันกัน ซึ่งผลที่ได้ก็จะตกอยู่กับชาวบ้าน และชุมชนในพื้นที่อันจะมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบรูณ์ให้สามารถพึ่งพาตนเองเป็นตัวอย่างและขยายไปทั่วทั้งทะเลไทยสืบต่อไป

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผลดำเนินงานที่ผ่านมา

  1. พลเรือตรี วินัย กล่อมอินทร์ ผู้บัญชาการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ( ทร. ) กองทัพเรือเข้ามาช่วยดูแลเรื่องการฟักไข่ ตรวจตรา เพาะฟัก อนุบาลจนถึงวัยที่ปลอดภัยก่อนจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ร่วมกับเกาะทะลุไอส์แลนด์ รีสอร์ท
  2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมสนับสนุนกิจกรรม ช่วยให้รอด เลี้ยงให้โต ปล่อยคืนสู่ทะเล เนื่องในวโรกาสสำคัญต่างๆเช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์
  3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และอำเภอบางสะพานน้อย ช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
 

ภารกิจท่องเที่ยวเพื่ออาสาอนุรักษ์ท้องทะเลและพันธุ์เต่าหายาก
(The Little Big Project, Marine Conservation at Koh Talu)

ได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องใน อ.บางสะพานน้อยทั้ง ภาครัฐ และเอกชนให้การต้อนรับ ผู้เข้ารอบการแข่งขัน ในโครงการ The Little Big Project 2 ท่าน ที่รับอาสามาเป็นอาสาสมัครในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลบริเวณรอบเกาะทะลุ เป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ โดยมีภารกิจดังนี้ อนุรักษ์พันธุ์เต่าด้วยการเก็บไข่เต่านำไปฟูมฟักและปล่อยคืนลงสู่ทะเล จัดทําธนาคารปูม้าร่วมกับกลุ่มชาวประมงใน อ.บางสะพาน ดําน้ำ และเก็บรวบรวมกิ่งปะการัง เก็บขยะและทําความสะอาดเกาะ ร่วมให้ความรู้กับเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินและการพูด ปลูกป่าชายเลนและศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้าน ใน อ.บางสะพานเพื่อรณรงค์และปลูกจิตสํานึก ให้เกิดประโยชน์ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยภารกิจประสบความสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย ตั้งแต่วันที่ 3-17 กรกฏาคม 2556 ที่ผ่านมา